ประวัติความเป็นมา
บ้านทุ่งลุยลาย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2496 โดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรก ชื่อ นายพรม บุญบำรุง ซึ่งได้นำพาญาติพี่น้องมาจาก อำเภอคอนสาร และอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ได้จับจองที่ทำกินบริเวณบ้านฝายในปัจจุบัน ในการตั้งรกราก มีแหล่งคลองน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่เหมาะแกการเพาปลูกซึ่งเป็นสภาพที่ราบสูงสลับเนินเขาจากประวัติศาสตร์เล่าว่า ผู้คนที่เข้ามาจับจองที่ดิน ต้องเผชิญกับความยากลำบาก การคมนาคมไม่มี ต้องเดินด้วยเท้า และอาศัยเกวียน วัว ควาย พอถึงฤดูฝน ก็จะล้มป่วยเป็นโรคจุดตามตัว จนขนานนามว่า หมู่บ้านทุ่งตัวลาย จนถึงเมื่อปี พ.ศ. 2516 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น หมู่บ้านทุ่งลุยลาย หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
จุดเริ่มต้นของการเป็นสหกรณ์การเกษตร
ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิดเขื่อนจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2516 ได้พระราชทานพระราชดำริแก่นายกรัฐมนตรีในเรื่องการป้องกันการบุกรุกทำลายป่าสงวนแห่งชาตินี้ โดยให้รัฐบาลจัดที่ดินส่วนที่บุกลุกทำลายป่าไปแล้วให้เป็นแปลงใหญ่หรือหลายแปลงติดต่อกันถวายเพื่อดำเนินการเช่นเดียวกับหมู่บ้านหุบกะพง คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2516 มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้ดำเนินการตามโครงการและหลังจากนั้นคณะกรรมการบริหารสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นชอบและบรรจุเป็นโครงการเพื่อดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่14 มกราคม 2518 เป็นต้นมา แนวทางการดำเนินโครงการ
- ให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ในทุ่งลุยลายเดิม ได้อยู่ต่อไปตามปกติ
- ห้ามราษฎรจากที่อื่นเข้ามาอยู่เพิ่มเติม
- จัดสรรที่ดินให้กับผู้มีชื่อปรากฏอยู่ในบัญชีสำรวจ แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ตามแต่ภูมิประเทศอำนวย
- กรรมสิทธิ์ในที่ดินจัดสรร ให้คงไว้เป็นของรัฐ สมาชิกของโครงการมีสิทธิในฐานะผู้ที่ได้รับอนุมัติให้เข้าทำประโยชน์เท่านั้น
- สมาชิกของโครงการแต่ละกลุ่มให้รวมกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตร เมื่อเปลี่ยนสภาพเป็นสหกรณ์ได้แล้ว ให้เรียกว่าหมู่บ้านสหกรณ์
สหกรณ์การเกษตรโครงการทุ่งลุยลาย จำกัด จัดตั้งเมื่อ 25 พฤษภาคม 2533 มีสมาชิกแรกตั้ง จำนวน 79 คน แบ่งกลุ่มจำนวน 10 กลุ่ม มีคณะกรรมการบริหารงานสหกรณ์ จำนวน 11 คน โดยมีนายเลิศ ไชยบุรี เป็นประธานกรรมการคนแรกของสหกรณ์ ด้วยทุนดำเนินงาน จำนวน 7,190.00 บาท สหกรณ์อยู่ในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกล และเป็นพื้นที่ราบสูง มีทุนในการดำเนินงานน้อย ไม่สามารถส่งเสริมการประกอบอาชีพของสมาชิกได้เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งทำให้เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการของสหกรณ์เป็นอย่างมากในปัจจุบัน สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ได้นำผลผลิตมาจำหน่ายแก่สหกรณ์จำนวนมาก ทำให้สหกรณ์ไม่มีทุนในการรวบรวมผลผลิตจากสมาชิก จึงต้องไปกู้ยืมจากนายทุนที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูง จึงเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนของสหกรณ์
ในปี พ.ศ. 2553 สหกรณ์ได้รับงบประมาณจากกรมส่งเสริมสหกรณ์โครงการพัฒนาศักยภาพในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สร้างโรงอบ โรงเก็บและคัดแยก เพื่อใช้ในการรวบรวมยางพาราจากสมาชิก ดังนั้น สหกรณ์สามารถประกอบธุรกิจรวบรวมยางพาราและส่งเสริมอาชีพของสมาชิกสหกรณ์ได้อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกกับสหกรณ์เพิ่มมากขึ้น
สหกรณ์การเกษตรโครงการทุ่งลุยลาย จำกัด ประเภท : สหกรณ์การเกษตร ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 54 หมู่ที่ 4 ถนนคอนสาร-เขื่อนจุฬาภรณ์ ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ รหัสไปรษณีย์ 36180 หมายเลขโทรศัพท์ : 044-109752 , 089-9441753,080-0062515 E-mail Address :
ปัจจุบันสหกรณ์มีสมาชิก จำนวน 522 คน ทุนดำเนินงานทั้งสิ้น 29,648,437.80 บาท กลุ่มสมาชิก 12 กลุ่ม จำนวนหุ้น 1,332,967 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10.00 บาท จำนวนเงินค่าหุ้นรวมทั้งสิ้น 13,329,670.00 บาท
สถานภาพด้านคณะกรรมการดำเนินการ
คณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 34 จำนวน 11 คน ประกอบด้วย
ที่ | ชื่อ-สกุล | ตำแหน่ง |
1 | นายเสาวรัตน์ แก้วมงคล |
ประธานกรรมการ |
2 | นายทองเพียง ถือศักดิ์ |
รองประธานกรรมการ คนที่ 1 |
3 | นายมรกต คำนา |
รองประธานกรรมการ คนที่ 2 |
4 | นางละออง เหมพรมมา |
เลขานุการ |
5 | นางละออง เหมพรมมา | เหรัญญิก |
6 | นางสาวจุฬารัตน์ ศิลาสูงเนิน |
กรรมการ |
7 | นายสุนทร ดวงจินดา |
กรรมการ |
8 | นายเกิน บุญบุรี |
กรรมการ |
9 | นางสุภาพร ปานนิล |
กรรมการ |
10 | นางจันทิวา ช่างปลูก |
กรรมการ |
11 | นายวันชัย ชัยบุรัมย์ |
กรรมการ |
ผู้จัดการ : นางสาววันเพ็ญ หงษ์ภูมี
ผู้ตรวจสอบกิจการ : นายเครื่อง เหลาทอน
ที่ปรึกษาสหกรณ์ ไม่มี
สถานภาพด้านการจัดการ
จัดจ้างเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงาน จำนวน 5 คน ดังนี้
- ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ 1 คน
- ตำแหน่งเจ้าหน้าที่การตลาด 1 คน
- ตำแหน่งเจ้าหน้าบัญชี 1 คน
- ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สินเชื่อ 1 คน
- ตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงิน 1 คน
ด้านการดำเนินธุรกิจ สหกรณ์ดำเนินธุรกิจ 4 ธุรกิจหลัก ได้แก่
1. ธุรกิจรวบรวมยางพารา
2. ธุรกิจสินเชื่อ
3. ธุรกิจรับฝากเงิน
4. ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย
แผนกลยุทธ์ประจำปี 2565 (สิ้นสุด 31 มกราคม 2566)
แผนงาน/โครงการ | วัตถุประสงค์ | วิธีการ/ขั้นตอนการดำเนินการ | เป้าหมาย | งบประมาณที่ตั้งไว้ |
1. กลยุทธ์การพัฒนาการบริหารงานสหกรณ์ | ||||
1. การควบคุมภายในด้านการปฏิบัติงานและการบริหารงานทั้ง 4 ด้าน(งานธุรการ,งานการเงินและการบัญชี,งานธุรกิจบริการและสวัสดิการ) |
1.เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานและการบริหารงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ 2.เพื่อป้องกันปัญหาข้อบกพร่องทางการเงินการบัญชี 3.เพื่อป้องกันการทุจริต |
1.ปรับปรุงกิจกรรมให้เป็นรูปธรรมและละเอียดขึ้นโดยให้กรอกแบบประเมินการควบคุมภายในและ ธรรมาภิบาลต้นปีนำมาเปรียบเทียบกับการประเมินปลายปี 2.นำหลักเกณฑ์การควบคุมภายในของกรมส่งเสริมสหกรณ์เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมภายใน |
สหกรณ์ต้องไม่มีข้อบกพร่องทางการเงินการบัญชีและไม่มีการทุจริต |
5,000 บาท |
2.พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด |
1.เพื่อให้สมาชิกเชื่อมั่นระบบการทำงานของสหกรณ์ 2.เพื่อให้สมาชิกใช้บริการด้วยความเชื่อมั่นมีความศรัทธาต่อสหกรณ์ฯ 3.เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ 4.ปลูกจิตสำนึกให้กรรมการและเจ้าหน้าที่อุทิศเวลาในการทำงานเพื่อสหกรณ์ 5.เพื่อให้สหกรณ์ฯผ่านเกณฑ์มาตรฐานการประเมินของหน่วยงานราชการ |
1.จัดให้มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย และเพียงพอในการปฏิบัติงาน 2.จัดอบรมสมาชิกเรื่องบทบาทหน้าที่ |
ส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจแต่ละธุรกิจไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 |
30,000 บาท |
3.เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำงานของกรรมการและ เจ้าหน้าที่โดยส่งอบรมสัมมนาภายนอก | 1.เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในการบริหารงานของกรรมการและการทำงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ 2.เพื่อให้บุคลากรนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในองค์กร 3.เพื่อให้สหกรณ์มีการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน 4.เพื่อให้กรรมการ เจ้าหน้าที่ ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสหกรณ์อื่น |
1.กรรมการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ หลักธรรมาภิบาล 2.เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมหลักสูตร - การบริหารจัดการหนี้ - การบันทึกบัญชีสหกรณ์ - การบริหารจัดการร้านค้า 3.สมาชิกใหม่ หลักการ วิธีการอุดมการณ์สหกรณ์และระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์ |
กรรมการ 11 คน เจ้าหน้าที่ 5 คน สมาชิกใหม่ 30 คน |
35,000 บาท |
4.การเพิ่มประสิทธิภาพการประชุมกลุ่มสมาชิก | 1.เพื่อชี้แจงนโยบายของสหกรณ์และการบริหารจัดการธุรกิจที่ให้บริการสมาชิก 2.สร้างการมีส่วนร่วม และให้สมาชิกได้แสดงความคิดเห็นกับสหกรณ์โดยผ่านเวที การประชุมกลุ่มเพื่อสร้างความตระหนักถึงความเป็นเจ้าของสหกรณ์ 3.นโยบายการส่งเสริมสนับสนุนสหกรณ์ของภาครัฐ |
1.จัดวาระการประชุมกลุ่มให้สอดคล้องกับแผนงานของสหกรณ์ 2.มีการเลือกตั้งประธานกลุ่ม,เลขานุการและกรรมการกลุ่มเพื่อประสานงานกับสหกรณ์ 3.แบ่งจำนวนสมาชิกในแต่ละกลุ่มให้สอดคล้องกับการควบคุมและบริหารจัดการกลุ่ม และง่ายต่อการดูแล 4.กระจายอำนาจการบริหารงานเพื่อได้ผู้นำที่มีศักยภาพมากขึ้น |
2 ครั้ง/ปี และมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมกลุ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 | 50,000 บาท |
2. กลยุทธ์สร้างความมั่นคงให้กับสหกรณ์ | ||||
1.การระดมทุนให้กับสหกรณ์ | 1.เพื่อระดมทุนจากภายในลดการยืมเงินจากภายนอก 2.เพื่อเพิ่มทุนให้เพียงพอต่อการให้บริการแก่สมาชิก 3.เพื่อให้สหกรณ์มีสภาพคล่องทางการเงิน |
1.ให้สมาชิกเพิ่มหุ้นจากการรวมธุรกิจรวบรวมผลผลิตยางก้อนถ้วย 2.สร้างแรงจูงใจโดยการจัดของรางวัลให้สมาชิกที่เพิ่มหุ้นจะได้รับคูปองชิงโชค |
มูลค่าหุ้น 600,000 บาท | 10,000 บาท |
2.การประกันหนี้สูญ | 1.ลดความเสี่ยงของสหกรณ์ 2.ลดภาระของผู้ค้ำประกัน |
1.การพิจารณาวงเงินกู้สมาชิก ไม่เกินค่าหุ้นรวมกับฌาปนกิจรวมกับประกันชีวิตกลุ่ม 2.หรือให้พิจารณาตามระเบียบสหกรณ์สหกรณ์ไม่มีการตัดบัญชีหนี้สูญ |
สหกรณ์ไม่มีการตัดบัญชีหนี้สูญ | |
3. กลยุทธ์ในการพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์ | ||||
1.ธุรกิจสินเชื่อ | 1.เพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ 2.มีการบริหารจัดการหนี้อย่างมีคุณภาพ 3.ลดปัญหาหนี้ค้าง |
1.การจัดชั้นลูกหนี้ เพื่อประกอบการพิจารณาเงินกู้ (กำหนดหลักเกณฑ์) 2.ขยายลูกหนี้เงินกู้รายใหม่ 3.บริการด้านสินเชื่อให้สมาชิกได้รับความสะดวกและรวดเร็ว (เงินกู้ฉุกเฉินภายใน 1 สัปดาห์,ระยะสั้นภายใน 1 เดือน) 4.ให้การช่วยเหลือสมาชิกที่เป็นหนี้ค้าง(ปรับปรุงโครงสร้างหนี้,ขยายเวลาการชำระหนี้) 5.ศึกษาดูงานการจัดชั้นสมาชิกจากสหกรณ์ที่ประสบความสำเร็จ |
หนี้ค้างลดลง 30 % (หนี้ค้าง ณ วันสิ้นปี) | 10,000 บาท |
2.ธุรกิจรวบรวมผลผลิต(ยางพารา) | 1.เพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ 2.สหกรณ์ซื้อสินค้าจากสมาชิกราคาสูงกว่าพ่อค้าคนกลาง |
1.หาตลาดรับซื้อเพิ่มขึ้น หรือหาพ่อค้ามาประมูลมากขึ้น 2.จัดสรรเงินเฉลี่ยคืนตามธุรกิจเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมธุรกิจกับสหกรณ์เพิ่มเติมให้รางวัลสมาชิกที่มาขายสม่ำเสมอ 3.จัดฝึกอบรมการพัฒนาคุณภาพผลผลิตของสมาชิก 4.คณะกรรมการบริหารจัดการลดขั้นตอนในวันรวบรวมผลผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น |
1.มูลค่าธุรกิจเพิ่มขึ้น 5 % 2.ราคาสูงกว่าพ่อค้าคนกลางเฉลี่ย 2.5 บาท/กก. |
20,000 บาท |
3.ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย | 1.เพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ 2.เพื่อให้สมาชิกได้รับสินค้าที่มีคุณภาพตรงความต้องการและมีราคาถูกกว่าท้องตลาด 3.เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้น |
1.สำรวจความต้องการซื้อสินค้าจากสมาชิกผ่านระบบออนไลน์ 2.รวบรวมความต้องการของสมาชิกเพื่อสั่งซื้อจำนวนมากจะทำให้ซื้อได้ในราคาถูก 3.สำรวจร้านค้าที่มีคุณภาพที่ให้ราคาต่ำสุด 4.ขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ 5.ให้บริการขนส่งสินค้าถึงบ้านสมาชิก(ให้เจ้าหน้าที่การตลาดเก็บข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าทางระบบออนไลน์,การจัดส่ง) |
1.มูลค่าธุรกิจเพิ่มขึ้น 7% 2.สมาชิกมีส่วนร่วมธุรกิจร้อยละ 75 |
40,000 บาท |
4.ธุรกิจรับฝาก | 1.เพื่อเพิ่มทุนภายใน 2.เพื่อให้สมาชิกเห็นความสำคัญของการออมเงิน |
1.จัดทำโครงการเงินออม 2.จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ 3. มีของที่ระลึกสำหรับผู้เปิดบัญชีใหม่ |
มูลค่าธุรกิจ เพิ่มขึ้น 5% | 5,000 บาท |
4. กลยุทธ์พัฒนาอาชีพเสริมและด้านสังคม | ||||
1.ส่งเสริมการทำอาชีพเสริมเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือนของสมาชิก | 1.เพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน 2.ให้สมาชิกมีอาชีพเสริมจากอาชีพหลัก |
1.สำรวจความต้องการตั้งกลุ่มอาชีพ 2.จัดอบรมให้ความรู้แก่สมาชิก 3.ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ,หาตลาดรับซื้อ |
3 กลุ่ม | 30,000 บาท |
2.มอบทุนการศึกษาให้บุตรสมาชิก | 1.ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในทางการศึกษาให้บุตรสมาชิก | 1.ชี้แจงประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกทราบ 2.กำหนดหลักเกณฑ์การมอบทุนการศึกษา (ก่อนประชุมกลุ่มสมาชิก,ประชุมใหญ่) 3.ดำเนินการมอบทุนการศึกษาให้บุตรสมาชิกในวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี |
ไม่จำกัดคนให้จ่ายคนละเท่าๆ กัน | 40,000 บาท |
3.ช่วยเหลือสมาชิกที่ได้รับความเดือดร้อน | 1. เพื่อช่วยเหลือสมาชิกและบรรเทาความเดือดร้อน | 1.ประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาช่วยเหลือ 1.1 สมาชิกที่ประสบภัยธรรมชาติ และอัคคีภัย(เฉพาะที่อยู่อาศัย) 1.2 มอบถุงยังชีพให้สมาชิกถูกกักตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 2.ให้คณะกรรมการเป็นผู้วินิจฉัยความเสียหาย |
สมาชิก | ใช้ทุนสวัสดิการสมาชิก |
5. กลยุทธ์ด้านพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศ | ||||
1. การพัฒนาบุคลากรการใช้งานเทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ | 1.เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีต่างๆมาช่วยในการปฏิบัติงาน 2.เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูลของสหกรณ์ 3.เพื่อรวบรวมข้อมูลสารสนเทศรองรับการตัดสินใจของคณะกรรมการดำเนินการ 4.เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์ได้รับเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นของสหกรณ์ |
1.กำหนดแผนกลยุทธ์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศ 2.พัฒนาระบบเว็บไซต์ของสหกรณ์เพื่อรองรับฐานข้อมูลสารสนเทศ หรือข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาของสหกรณ์ 3.พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาชิคณะกรรมการดำเนินการ ผู้ตรวจสอบกิจการ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ เพื่อสามารถใช้งานระบบเว็บไซต์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 4.จัดระบบการประมวลผลข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจ นำเสนอข้อมูลหรือฐานข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานสหกรณ์ |
คณะกรรมการดำเนินการ,ผู้ตรวจสอบกิจการ,สมาชิก, เจ้าหน้าที่ | 20,000 บาท |
สรุปค่าใช้จ่ายแผนกลยุทธ์ประจำปี 2565
ลำดับที่ |
แผนกลยุทธ์ |
งบประมาณตั้งไว้(บาท) |
1 |
ด้านการพัฒนาการบริหารงานสหกรณ์ |
120,000.00 |
2 |
ด้านการสร้างความมั่นคงให้กับสหกรณ์ |
10,000.00 |
3 |
ด้านพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์ |
75,000.00 |
4 |
ด้านพัฒนาอาชีพเสริมและด้านสังคม |
70,000.00 |
5 |
ด้านการพัฒนาสารสนเทศ |
20,000.00 |
รวมทั้งสิ้น |
295,000.00 |
กิจกรรมการขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่ |
แผนดำเนินงาน |
กิจกรรม |
เป้าหมาย |
1 |
การพัฒนาสหกรณ์สู่ความพอเพียง |
- ด้านเงินทุน ระดมทุนเงินฝากจากสมาชิก |
สมาชิก 20 ราย เงินฝากไม่น้อยกว่า 200 บาทต่อเดือนต่อราย |
2 | การปรับปรุงวิธีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย | มีการวางแผนการจัดซื้อและการจำหน่าย -สำรวจความต้องการของสมาชิก -กำหนดราคาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ |
ธุรกิจรวบรวม (ยางก้อนถ้วย) | -ประชุมชี้แจงสมาชิกในวันขายยางเรื่องคุณภาพการผลิต ยางก้อนถ้วนให้มีคุณภาพ -วางแผนกำหนดวัน /สถานที่ในการรวมรวม -แจ้งประชาสัมพันธ์ข่าวการตลาด -ประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกัน |
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดชัยภูมิ
106 หมู่ที่ 4 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 36000
โทรศัพท์ 0-4481-6813 E-mail :
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2567 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดชัยภูมิ
Copyright © 2024 Chaiyaphum Provincial Cooperative Office
ภาพประกอบโดยเว็บไซต์ iconfinder.com,freepik.com, pixabay.com, flaticon.com Star icons created by Smashicons - Flaticon Save icons created by Smashicons - Flaticon list icons created by Smashicons - Flaticon Apply icons created by Smashicons - Flaticon add icons created by Smashicons - Flaticon success icons created by Smashicons - Flaticon plus icons created by Smashicons - Flaticon Add New icon by Icons8